Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ตำนานน้ำอบไทยที่มา แห่ง ความหอมตำรับไทย

ตำนานน้ำอบไทยที่มา แห่ง ความหอมตำรับไทย
👉🏿วันนี้จะมานำเสนอเรื่องน้ำอบไทยน้ำอบไทยหรือจะเรียกดูดีแบบสากลคือโคโลญจน์ไทย น้ำหอมไทยนั่นเอง...ยอมรับเลยนะครับว่าน้ำอบไทยมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเองกลิ่นที่หอมเป็นธรรมชาติ และ มีเอกลักษณ์ที่เป็นตัวของตัวเอง แม้แต่คุณได้กลิ่นน้ำอบไทยหอมโชยมาตอนดึกๆดื่นๆคุณก็จะรู้สึกถึงความคลาสสิค ของกลิ่นหอมน้ำอบไทยยามนั้นแน่นอน...

🧔น้ำอบไทยถึงแม้ว่าจะนิยมใช้เฉพาะตามเทศกาลต่างๆงานประเพณี... แต่คนไทยไม่นิยมกันเท่าไหร่ในการเอามาปะพรมแทนน้ำหอม อาจจะเป็นเพราะยึดติดค่านิยมประเพณีก็ได้นะครับจะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่าก็ไม่รู้...นะครับแต่วันนี้ผมจะนำเสนอประวัติตำนานความเป็นมา

🇹🇭ในสังคมไทยสมัยโบราณ การใช้เครื่องหอมได้สอดแทรกอยู่ในประเพณีต่างๆ ควบคู่กับการดำเนิน ชีวิต เช่น ประเพณีการโกนผมไฟ พิธีสรงน้ำพระ การรดน้ำดำหัวในวันสงกรานต์ ตลอดถึงการรดน้ำศพ เครื่องหอมมีหลายชนิด เช่น น้ำอบ น้ำปรุง สีผึ้ง แป้งร่ำ ดินสอพอง ฯลฯ

แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ น้ำอบ ใช้เป็นเครื่องประทินผิว หลักฐานการใช้น้ำอบไทยหรือเครื่องหอมแบบไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และต่อเนื่องมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย สมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.๒) ทรงโปรดปราณการใช้น้ำอบ น้ำปรุงมาก

คงจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงให้เห็นถึงความนิยมในการใช้เครื่องประทินผิวของคนในสมัยนั้น ความนิยมต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทยสมัยก่อน มักจะออกมาจากในพระราชสำนัก สู่สามัญชน การใช้เครื่องหอมก็เช่นเดียวกัน

💐“น้ำอบ” เป็นคำที่เรียกใช้เครื่องหอมที่เป็นน้ำ สมัยก่อน การทำน้ำอบจะใช้ดอกไม้สดที่มีกลิ่นหอม เช่น ดอกมะลิ ดอกแก้ว ดอกชมนาด ฯลฯ เนื้อไม้ ยางไม้ เช่น ผิวมะกรูด แก่นไม้จันทร์ เปลือกชลูด

โดยนำมาอบ ร่ำ ในน้ำให้มีกลิ่นหอมเย็นเป็นธรรมชาติ ซึ่งการทำน้ำอบแบบนี้ เป็นการทำในปริมาณไม่มากนัก ทำใช้กันในครัวเรื่อน และจะทำใช้กันวันต่อวัน เพราะถ้าทิ้งไว้นาน กลิ่นของดอกไม้สดจะเปลี่ยน

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการนำเอาหัวน้ำหอมจากต่างประเทศเข้ามาประยุกต์ใช้กับเครื่องหอมโบราณของไทย ทำให้เกิดลักษณะของการทำน้ำอบเป็น ๒ อย่าง คือ น้ำอบไทย กับน้ำอบฝรั่ง ทำให้ค่านิยมของการใช้น้ำอบไทยลดลง

(ซ้ายบน) เปลือกชะลูด, (ขวาบน) กำยาน, (ซ้ายล่าง) ผงจันทน์เทศ, (ขวาล่าง) สีผึ้ง

🌹“น้ำอบไทย” คือน้ำที่อบด้วยควันกำยาน หรือเทียนอบ (ทำจากผิวมะกรูด กำยาน น้ำตาลแดง ขี้ผึ้ง และจันทน์เทศ) และน้ำมาปรุงด้วยเครื่องหอม มีลักษณะเป็น น้ำใสสีเหลืองอ่อนๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากน้ำหอม หรือน้ำอบฝรั่ง ทั้งลักษณะของกลิ่นและขบวนการผลิต

ปัจจุบันความนิยมของคนรุ่นใหม่ต่อน้ำอบไทยในลักษณะของเครื่องประทินผิวหรือเครื่องสำอางลดน้อยลงมาก

🌼แต่น้ำอบไทยก็ยังเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับสังคมไทย เพราะจะนำไปใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานสงกรานต์ งานขึ้นปีใหม่ สรงน้ำพระ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และใช้ในงานศพ เป็นต้น

🇹🇭ซึ่งการใช้น้ำอบไทยในงานประเพณีต่างๆ เป็นเครื่องแสดงถึงการสืบทอดวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสังคมไทย

รายการบล็อกของฉัน