แปลกจริงเมื่อลัทธิชินโตประเทศญี่ปุ่น มีการอ้างถึงรักร่วมเพศมากยิ่งขึ้นในยุคเฮอังและอย่างเห็นได้ชัดในยุคเอโดะ
รักร่วมเพศในประเทศญี่ปุ่น
รักร่วมเพศในประเทศญี่ปุ่น เป็นที่ยอมรับในลัทธิชินโต มีการอ้างถึงรักร่วมเพศมากยิ่งขึ้นในยุคเฮอังและอย่างเห็นได้ชัดในยุคเอโดะ อย่างไรก็ตามเมื่อประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคเมจิ การรักร่วมเพศไม่ได้เป็นที่ยอมรับเหมือนแต่เดิม ในรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1947 ได้ให้คำนิยามการแต่งงานโดยเฉพาะว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างชาย–หญิงเท่านั้น
ผ้าพิมพ์ช่วงท้ายคริสต์ศตวรรษที่ 18 "ลูกค้าประเล้าประโลมโสเภณี" โดย คิตางาวะ อูตามาโระ
ปัจจุบันเริ่มมีผู้สนับสนุนรักร่วมเพศมากยิ่งขึ้น ผลสำรวจ ค.ศ. 2015 ระบุว่าชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เห็นชอบการทำให้รักร่วมเพศถูกกฎหมาย ในปีต่อ ๆ มาผลสำรวจความคิดเห็นแสดงการสนับสนุนการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตาม
ผลสำรวจในบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ค.ศ. 2020 ระบุว่า 38% ของพวกเขาถูกล่วงละเมิดหรือถูกทำร้ายร่างกาย
ประวัติ
ในประวัติศาสตร์ ลัทธิชินโต "ไม่มีประมวลจรรยาบรรณพิเศษและมองว่าการมีเพศสัมพันธ์นั้นเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สามารถแสวงหาความสุขได้ด้วยการหักห้ามใจเล็กน้อย"
ขณะที่ความเชื่อของลัทธิชินโตนั้นเปิดกว้างและไม่ได้ประณามรักร่วมเพศ มีการอ้างอิงทางวรรณกรรมอย่างไม่ชัดเจนถึงการรักเพศเดียวกันปรากฏในแหล่งอ้างอิงโบราณอย่างเทวตำนานญี่ปุ่น แต่การอ้างอิงดังกล่าวน้อยเกินไปจนไม่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม การเปิดเผยตัวตนว่ามีความรักร่วมกับเพื่อนเพศเดียวกันนั้นเป็นเรื่องปกติ
ในยุคเฮอัง (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11) เริ่มมีแหล่งอ้างอิงที่กล่างถึงรักร่วมเพศมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ตำนานเก็นจิ เขียนขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 ผู้ชายมักมีความรู้สึกร่วมกับความสวยงามของเยาวชน ในฉากหนึ่ง พระเอกปฏิเสธสตรีและหลับนอนกับน้องชายของเธอแทน: "เก็นจิฉุดชายหนุ่มลงนอนข้างกายเขา
... เก็นจิ [...] มองว่าผู้ชายมีความน่าดึงดูดมากกว่าพี่สาวที่แสนเย็นชาของเขา" นอกจากนี้ยังมีอนุทินในยุคเฮอังหลายเล่มที่ปรากฏการอ้างอิงถึงพฤติกรรมรักร่วมเพศ
บางส่วนปรากฏการอ้างอิงจักรพรรดิมีส่วนในความสัมพันธ์รักร่วมเพศกับ "หนุ่มหล่อที่ถูกกักขังไว้เพื่อจุดประสงค์ทางเพศ"
ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่ยุคเมจิ กระแสต่อต้านรักร่วมเพศแข็งแรงขึ้นในภาพรวม กระทรวงยุติธรรมผ่านกฎหมายการชำเราแบบวิตถารใน ค.ศ. 1873
ส่งผลให้พฤติกรรมรักร่วมเพศผิดกฎหมาย การเรียนการสอนเพศวิทยาที่ได้รับความนิยมขณะนั้นถูกวิจารณ์ ช่วงเวลาอันสั้นครั้งเดียวที่มีการห้ามการชำเราแบบวิตถารในรักร่วมเพศ (การร่วมเพศทางทวารหนัก) คือใน ค.ศ. 1872–1880 เนื่องจากอิทธิพลตะวันตก
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเขียนในระหว่างการยึดครองของอเมริกันให้คำนิยามของการแต่งงานว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างชาย–หญิงโดยเฉพาะ ในความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงข้อกำหนดในการแต่งงาน
คู่เกย์บางคู่หันไปพึ่งระบบการรับผู้ใหญ่เป็นบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะเป็นครอบครัวเดียวกัน
ด้วยวิธีนี้ ฝ่ายที่แก่กว่าจะรับฝ่ายที่เด็กว่าเป็นบุตรบุญธรรมซึ่งจะทำให้พวกเขาเป็นครอบครัวตามกฎหมาย อีกทั้งยังได้รับผลประโยชน์เดียวกันที่ครอบครัวปกติได้รับ เช่น นามสกุลเดียวกันและมรดก ในที่ทำงาน ไม่มีการให้ความคุ้มครองการต่อต้านการเลือกปฏิบัติพนักงานที่มีความหลากหลายทางเพศ
การแต่งงานกับเพศเดียวกันยังไม่ถูกกฎหมายในระดับชาติ ศาลแขวงชิบูยะในโตเกียวผ่านร่างใบรับรองความเป็นคู่ชีวิตเพศเดียวกันใน ค.ศ. 2015 เพื่อ "ออกใบรับรองให้แก่คู่รักเพศเดียวกันที่ยอมรับว่าเป็นคู่ชีวิตเฉกเช่นกับผู้ที่แต่งงานภายใต้กฎหมาย"
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 ศาลแขวงซัปโปโระให้คำวินิจฉัยว่ากฎหมายการห้ามแต่งงานเพศเดียวกัน ค.ศ. 1984 นั้นขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022 ศาลแขวงโอซากะอ่านคำพิพากษาแย้งว่าการห้ามแต่งงานเพศเดียวกันนั้นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ก็ว่ากันไปนะครับความหลากหลายทางเพศของความรักไม่ว่าชายรักกับชายหรือหญิงรักกับหญิง ชายกับหญิงถ้าเขาจะรักกันชอบกัน...ไม่ว่ายังไงมันก็เป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพของเขานะครับส่วนกฎหมายบ้านเมืองจะว่ายังไงก็อีกเรื่องหนึ่ง