Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

แมลงทับ อัญมณีแห่งพงไพร

แมลงทับ อัญมณีแห่งพงไพร
แมลงทับ!! อัญมณีแห่งพงไพรสีเขียวเหลือบทองน้ำเงิน กับวงจรชีวิตที่แสนสั้น สู่งานหัตกรรมที่งดงาม!!

เนื่องจากปัจจุบันนี้ตามร้านขายเครื่องประดับความงามจะมีแมลงสต๊าฟชนิดหนึ่งขายอยู่ด้วย!! บางร้านอาจจะนำปีกแมลงมาประดิษฐ์ แปรรูปเป็นงานหัตกรรมที่งดงามอย่างยิ่ง และเป็นสัตว์ที่มีอายุสั้นมากด้วย   เราจะพาท่านไปรู้จักแมลงชนิดนี้ คือ แมลงทับ ผู้ใหญ่หลายๆท่านคงรู้จักเป็นอย่างดี  แต่เด็กยุคปัจจุบันนั้นน้อยคนนักที่จะรู้จักกับแมลงชนิดนี้!!!
แมงทับ นั้นมีหลายชื่อมาก ขึ้นอยู่กับแต่ละที่จะเรียกบางที่เรียก แมงคับ และ แมงพลับ  เจ้าแมลงชนิดนี้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น อัญมณีแห่งทุ่ง ในบ้านเรามี แมลงทับอยู่ 2 ชนิดคือแมลงทับขาเขียวกับแมลงทับขาแดง โดยพบมากที่สุดอยู่ในภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

แมลงทับขาแดง   มักอยู่รวมเป็นกลุ่มใหญ่ พบกินใบพันซาด มะค่าแต้ พะยอมเต็ง ตะแบกแดง และกางขี้มอด ในบริเวณป่าเต็งรังและรอยต่อระหว่างป่าเต็งรังกับป่าเบญจพรรณที่มีไผ่เพ็กหรือไผ่โจดขึ้นเป็นไม้พื้นล่าง พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
แมลงทับขาเขียว  พบอยู่รวมเป็นกลุ่มขนาดเล็ก แต่มีขอบเขตแพร่กระจายกว้างทั้งประเทศชอบกินใบคางมะขามเทศ และต้นถ่อน ที่ขึ้นตามที่รกร้าง ป่าละเมาะ และริมข้างทาง 
แมลงทับทั้งสองชนิดนี้มีสีเขียวมรกตมันวาว บางตัวอาจมีสีเขียวเหลือบทองน้ำเงิน หรือทองแดง ปกติพบแมลงทับเพียงปีละครั้งในช่วงฤดูเข้าพรรษา ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง ตุลาคม แมลงทับทั้งสองชนิดพบแพร่กระจายทั่วทุกภาคของประเทศ 

จากผลของงานวิจัยพบว่า...แมลงทับจะปรากฏให้เห็นเพียงปีละครั้งเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามากระทบต่อวงจรชีวิต เช่น สภาพแวดล้อมก่อนเข้าหน้าฝน ถ้าหากสภาพอากาศแห้งแล้ง หนอนวัยสุดท้ายจะฟักตัวนิ่งข้ามปีได้เพื่อรอจนกว่าจะถึงรอบปีตามปกติ.. มันจึงจะลอกคราบจากดักแด้กลายเป็นแมลงทับตัวเต็มวัย
อาหาร ชอบกินใบไม้ครึ่งแก่ครึ่งอ่อนที่ชอบมากได้แก่ใบพันชาด ใบมะขามเทศ ใบเต็ง ใบพะยอม และใบตะแบกแดง มันกินจุมากโดยเฉพาะในช่วงที่แดดจัด แม่แมลงทับจะวางไข่ ไว้ตามโคนต้นไผ่เพ็กหรือไผ่โจดแล้วผละจากไป น่าสังเกตว่าถ้าไม่มีไผ่สองชนิดนี้แถวนั้นจะไม่พบแมลงทับเลย
วงจรชีวิต จับคู่ผสมพันธุ์ในเวลากลางวันใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการยอมรับของเพศเมีย เมื่อผสมพันธุ์เสร็จตัวเมียวางไข่ที่บริเวณโคนต้นพืชอาหาร ลึกลงในดินประมาณ 1-2 เซนติเมตร วางไข่ทีละฟองจำนวน 1-2 ฟองต่อวัน ตัวเต็มวัยมีชีวิตเพียง 1-3 สัปดาห์พบมีจำนวนมากที่สุดในเดือนกันยายนของทุกปี ไข่ ฝังอยู่ในดินนาน 2-3 เดือน (สิงหาคม-ตุลาคม)หนอน วัยที่ 1, 2, 3 และ 4 อาศัยอยู่ในดินแทะกินรากพืชและเหง้าเพ็ก

นาน 3-4 เดือน(พฤศจิกายน-มีนาคม) หนอนวัยที่ 5 หยุดกินอาหารและสร้างปลอกดินหุ้มตัวฝังอยู่ในดินลึก5-10 เซนติเมตร หนอนวัยสุดท้ายนี้พักตัวอยู่ในปลอกดินนาน 12-15 เดือน (เมษายนปีแรก-มิถุนายนปีถัดไป จึงเข้าดักแด้ในปลอกดิน ดักแด้ นาน 2-3 เดือน (มิถุนายน-สิงหาคม) 
เมื่อเป็นตัวเต็มวัยสีเขียวยังคงอาศัยอยู่ในปลอกดินอีกเกือบเดือน เพื่อให้ปีกแข็งแกร่งและพร้อมที่จะออกจากปลอกดิน แต่แมลงทับต้องคอยจนกว่าฝนจะตกหนัก และน้ำฝนไหลลงไปจนถึงปลอกดินแมลงทับจึงดันปลอกดินให้เปิดออก เดินขึ้นมาจากใต้ดินและเจาะผิวดินเป็นรูปกลมดันตัวเองขึ้นจากพื้นดิน เมื่อมีแสงแดดจึงบินไปกินอาหาร ผสมพันธุ์ และวางไข่ กว่าจะเป็นแมลงทับแต่ละตัวต้องใช้เวลาอาศัยอยู่ในดินนานถึง 2 ปี เมื่อเป็นตัวเต็มวัยก็มีชีวิตนานแค่ 1-3 สัปดาห์เท่านั้น
 
แมงทับจะใช้ชีวิตอย่างสำเริงสำราญเป็นอิสรเสรีจับคู่กันผสมพันธ์แล้วตัวผู้ก็ตายไป
ส่วนตัวเมียตั้งท้องแล้วไข่ จากนั้นก็ตายตามไป 
จำนวนแมลงทับในแต่ละปีมักจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝนที่ตกในช่วงเข้าพรรษา
ถ้ามีอากาศแห้งแล้ง จะมีจำนวนน้อย
ในปัจจุบันมีการ นำปีกแมลงทับมาดัดแปลงทำเครื่องประดับกันมากขึ้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9  จึงทรงเกรงว่านานวันเข้าแมลงทับอาจจะสูญพันธุ์ได้ จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้ราชเลขานุการในพระองค์แจ้งไปยังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อหาแนวทางอนุรักษ์และเพาะเลี้ยงแมลงทับ

รายการบล็อกของฉัน